รายการประกอบแบบมาตรฐาน
Standard Specification
1. เป็นการกำหนดกรอบข้อมูลทั่วๆไปของวัสดุ กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้วัสดุมาตรฐานอ้างอิง และรายละเอียดเพิ่มเติมที่ผู้รับจ้างจะต้องส่งให้ผู้ออกแบบหรือผู้ควบคุมงานพิจารณา ในส่วนของผู้ออกแบบจะต้องกรอกข้อมูลเติม เช่น วัสดุดังกล่าวใช้ในบริเวณใดบ้าง เป็นต้น
2. เป็นการระบุ ผู้ผลิต วัสดุ รุ่น ชนิดประเภทโดยกล่าวถึงคุณสมบัติทั่วไปของวัสดุนั้นๆ อุปรกณ์การติดตั้ง และเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทใด ซึ่งผู้ออกแบบจะเป็นผู้กรอกรายละเอียดดังกล่าวให้เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายอย่างที่อาจจจะแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ เช่น งบประมาณ คุณภาพที่ต้องการ แบบ/รูปร่าง/สี หรือความต้องการเฉพาะอื่นๆนอกจากนั้น ในการกำหนดผลิตภัณฑ์บางประเภท จำเป็นจะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับแบบก่อสร้าง หรือมิฉะนั้นก็จะต้องปรับแก้รายการประกอบบแบบในหมวดนั้นๆ ให้ถูกต้องตรงกับผลิตภัณฑ์/รุ่น ที่เลือกใช้
3. เป็นกรรมวิธีและแนวทางในการก่อสร้าง กล่าวถึงวิธีการติดตั้งวัสดุนั้นๆ
ข้อกำหนดและขอบเขตทั่วไป
Summary of Work
1. คำจำกัดความและความหมาย
1.1 เจ้าของงาน หรือ ผู้ว่าจ้าง หมายถึง เจ้าของโครงการที่ลงนามในสัญญาหรือตัวแทนทีได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของโครงการ
1.2 สถานที่ก่อสร้าง หมายถึง ณ. ที่ดินซึ่ง ผู้ว่าจ้าง เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่ที่ ถนน- แขวง- เขต -จังหวัด
1.3 สถาปนิก / วิศวกร หรือผู้ออกแบบ หมายถึง บริษัท ..จำกัด ผู้มีรายนามปรากฏในแบบรูป
1.4 ผู้ควบคุมงาน หมายถึง บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้ดำเนินการ
1.5 ผู้รับจ้าง หมายถึง ผู้ประกวดราคาที่ได้ทำสัญญาจ้างเหมากับ ผู้ว่าจ้าง
1.6 คณะกรรมการตรวจการจ้าง หมายถึง คณะกรรมการที่ ผู้ว่าจ้าง แต่งตั้งขึ้นในคราวเดียวหรือเป็นครั้งคราว ให้เป็นผู้แทนควบคุมดูแลในขณะระหว่างก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญาแทน ผู้ว่าจ้าง
1.7 ตัวแทนผู้ว่าจ้าง หมายถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้ว่าจ้าง ให้ควบคุมดูแลงานก่อสร้างนี้
1.8 งาน หมายถึง งานก่อสร้างตามขอบเขตของงานตามสัญญา ซึ่งรวมถึงแรงงานหรือวัสดุ หรือทั้งสองอย่าง, อุปกรณ์เครื่องมือ, การขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานเพื่อให้แล้วเสร็จเรียบร้อยตามสัญญา
1.9 อนุมัติ หมายถึง การอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร
1.10 คำสั่ง หมายถึง การสั่งการให้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการของ ผู้ว่าจ้าง ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และให้รวมความถึงคำบอกกล่าวที่เป็นวาจา ซึ่งมีผลบังคับใช้แทนคำสั่งโดยจะเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาในภายหลังบุคคลผู้มีอำนาจในการออกคำสั่ง หรือบอกกล่าวทางวาจาได้ ตามลำดับดังนี้
ก. ผู้ว่าจ้าง
ข. คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ค. ตัวแทนผู้ว่าจ้าง
ง. สถาปนิก / วิศวกร
จ. ผู้ควบคุมงาน
1.11 แบบรูป หรือ รูปแบบ หมายถึง แบบแปลนที่รวมอยู่ในเอกสารประกอบสัญญา และให้รวมความถึง แบบแปลนที่ออกเพิ่มเติมโดย ผู้ว่าจ้าง
1.12 รายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง หรือรายละเอียดประกอบแบบ หรือรายการประกอบแบบหรือ SPECIFICATIONS หมายถึง ข้อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
1.13 คุณภาพเทียบเท่า หรือเทียบเท่า หมายถึง การอนุญาตให้ใช้วัสดุ หรืออุปกรณ์ในงานก่อสร้างนอกเหนือจากรายชื่อวัสดุอุปกรณ์ ที่ได้กำหนดไว้ในรายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง หรือในรูปแบบการเทียบเท่าให้ยึดถือคุณภาพที่เท่ากันหรือดีกว่า ราคาเท่ากันหรือสูงกว่า แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลตามลำดับดังต่อไปนี้
ก. คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ข. ตัวแทนผู้ว่าจ้าง
ค. สถาปนิก / วิศวกร
1.14 สัญญา หมายถึง เอกสารต่าง ๆ อันประกอบกันเป็นสัญญาซึ่งได้แก่
ก. เอกสารสัญญาว่าจ้าง
ข. เอกสารประกวดราคา
ค. รายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง ( SPECIFICATIONS )
ง. แบบรูปและแบบรูปเพิ่มเติม
จ. เงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ
ฉ. เอกสารเพิ่มเติมอื่น ๆ ( ถ้ามี )
1.15 ตัวแทนที่มีอำนาจเต็ม หมายถึง ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายให้กระทำการใด ๆ แทนโดยมีหลักฐานการมอบอำนาจอย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้
2. ราคางานก่อสร้าง
ราคางานก่อสร้าง ให้รวมความถึง
2.1 งานเตรียมงาน เตรียมสถานที่พร้อมที่จะลงมือก่อสร้างอาคารได้
2.2 ที่พักคนงาน
2.3 ค่าขอมิเตอร์ไฟฟ้า, ประปาชั่วคราว รวมค่าน้ำ / ค่าไฟ ตลอดโครงการ
2.4 ค่าวัสดุ, แรงงาน, เครื่องมือ และค่าขนส่ง
2.5 ค่าประสานงานกับส่วนอื่น ๆ
2.6 ค่าดำเนินการเกี่ยวกับเทคนิคการก่อสร้าง การป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่บุคคลและทรัพย์สินทั้งในและนอกสถานที่ก่อสร้าง ตลอดจนค่าดำเนินการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ผู้รับจ้างต้องการกระทำ เพื่อให้ได้งานที่เสร็จสมบูรณ์
2.7 ค่ากำไร
2.8 ค่าภาษีอากรต่าง ๆ ที่ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมายและเทศบัญญติ โดยไม่มีข้อยกเว้น
2.9 ค่าประกันภัยตามสัญญา
2.10 ค่าก่อสร้างสำนักงานสนาม พร้อมอุปกรณ์ครุภัณฑ์ของผู้รับจ้าง, ผู้ว่าจ้างและผู้ควบคุมงาน
2.11 การดำเนินงานด้านเอกสาร อาทิเช่น การจัดทำ SHOP DRAWING, ASBUILT DRAWING เอกสารรายงานประจำเดือน เป็นต้น
2.12 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญา
2.13 ค่าทดสอบวัสดุต่าง ๆ ตาม SPECIFICATIONS หรือเมื่อกรรมการตรวจการจ้างมีความประสงค์ให้ทดสอบวัสดุนอกเหนือจาก SPECIFICATIONS
3. การตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง
ก่อนยื่นของประกวดราคา ผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องไปตรวจสอบสถานที่ที่จะทำการก่อสร้างด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ตัวแทนที่มีอำนาจเต็มไปแทน ตามวันเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด หากผู้ยื่นซองประกวดราคารายใดมิได้ไปดูสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้ ผู้ว่าจ้างอาจจะตัดสิทธิในการยื่นซองประกวดราคา หรือผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้ยื่นประกวดรายนั้น ได้ไปดูตรวจสอบสถานที่และได้เข้าฟังคำชี้แจงเพิ่มเติม (ถ้ามี) เข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว จะถือเป็นข้ออ้างใด ๆ ต่อทางผู้ว่าจ้างไม่ได้
4. การชี้แจงและคำแนะนำเกี่ยวกับแบบรูปและรายละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง
ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดเวลา / สถานที่ที่จะให้คำแนะนำ และชี้แจงเกี่ยวกับแบบรูปและรายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง ตลอดจนตอบคำถามข้อสงสัยต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมประกวดราคาเสนอคำถาม เป็นคำชี้แจงเกี่ยวกับงานก่อสร้าง สัญญาเงื่อนไข หรืออื่น ๆ โดยจะถือคำชี้แจงคำแนะนำเหล่านั้น เป็นส่วนหนึงของเอกสารประกอบสัญญาในระหว่างการก่อสร้าง มิให้ผู้รับจ้างทำงานโดยปราศจากแบบก่อสร้าง และคำแนะนำที่เหมาะสม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบต่องานทั้งหมดรวมทั้งแก้ไขให้ถูกต้อง หากผู้รับจ้างทำไปโดยพลการ
5. การขอเอกสารเพิ่มเติม
ผู้ว่าจ้างจะมอบแบบรูปและรายละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง สำหรับใช้ในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นจำนวน 2 ชุด นอกเหนือจากสัญญาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้รับจ้างจะต้องเก็บรักษาแบบรูปและรายละเอียดประกอบแบบ จำนวน 1 ชุด โดยเข้ารูปเล่มให้เรียบร้อยไว้ ณ. สถานที่ก่อสร้าง และพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ตลอดเวลา ผู้รับจ้างจะต้องเก็บรักษาสำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่ประกอบสัญญาไว้ ณ. สถานที่ก่อสร้างด้วย
หากผู้รับจ้างมีความประสงค์จะขอสำเนาเอกสารสัญญาส่วนใดส่วนหนึ่งเพิ่มเติม จะต้องร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างโดยตรง พร้อมทั้งให้ระยะเวลาอันสมควรต่อผู้ว่าจ้าง ค่าใช้จ่ายในการขอเพิ่มเติมเอกสารทั้งหมดเป็นภาระของผู้รับจ้าง
6. ความคลาดเคลื่อนหรือขาดตกบกพร่อง
การอ่านแบบให้ถือความสำคัญตามลำดับต่อไปนี้
ก. แบบรูป
ข. ระยะที่เป็นตัวเลข
ค. อักษรที่ปรากฏอยู่ในแบบรูป
ง. แบบขยาย, แบบขยายเพิ่มเติม
จ. แบบขยายที่ได้รับอนุมัติ
7. แบบรายละเอียดในการทำงาน และแบบรายละเอียดที่ทำจริง
7.1 ผู้รับจ้างต้องจัดทำ แบบรายละเอียดในการทำงาน ( Shop Drawing ) และเป็นผู้คำนวณรายละเอียดต่าง ๆ ( Detail Calculations ) ตามที่กำหนดและหรือตามคำสั่งของผู้ควบคุมงาน สำหรับตรวจสอบให้ความเห็นชอบ ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำสำเนาแบบรายละเอียดในการทำงานของผู้รับจ้างแจกจ่ายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ใช้ทำงานก่อสร้างอาคารด้วย
7.2 ผู้รับจ้างต้องจัดทำ แบบรายละเอียดงานที่ทำจริง ( As-Built Drawing ) รวมถึงรูปแบบก่อสร้างและรายละเอียดประกอบการก่อสร้าง ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปในการก่อสร้างตามข้อเท็จจริง เพื่อส่งให้ผู้ควบคุมงานได้พิจารณาตรวจสอบก่อนการรับรองความถูกต้อง และส่งมอบให้ผู้ว่าจ้างในวันส่งมอบงาน
งานก่ออิฐ และฉาบปูน
ก. งานก่อสร้างงานก่ออิฐ ฉาบปูน
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงาน และอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อการก่อสร้างงานก่อผนังอิฐให้ถูกต้องตามแบบและรายการก่อสร้าง
2. วัสดุ
2.1 นอกจากระบุเป็นอย่างอื่นในแบบ อิฐที่ใช้สำหรับงานก่อผนังอิฐ เป็นอิฐมอญขนาด อิฐมอญ ขนาดที่ผลิตทั่ว ๆ ไปตามท้องตลาด
อิฐบล็อค สำหรับอิฐก่อครึ่งแผ่นให้ใช้ขนาดความหนา ……….."
ผลิตภัณฑ์ของ …… หรือเทียบเท่า
อิฐ หรือ BLOCK อื่น ๆ ตามที่ระบุในแบบ
2.2 ปูนก่อ มีส่วนผสมดังนี้
2.2.1 ปูนซีเมนต์ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ตรา …ของบริษัท … จำกัด
2.2.2 ทราย จะต้องเป็นทรายน้ำจืดที่สะอาด คมและแข็ง โดยมีคุณสมบัติดังนี้
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 8----------------------------------------100%
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 50----------------------------------------15-40%
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 100----------------------------------------0-10%
2.2.3 น้ำ จะต้องใช้น้ำที่สะอาดปราศจากน้ำมัน กรด ด่าง เกลือ หรือพฤกษชาติต่าง ๆ ในกรณีที่น้ำในบริเวณงานก่อสร้างมีคุณภาพไม่ดีพอผู้รับจ้างจะต้องจัดหาน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้
2.3 เสาเอ็น, คานทับหลัง
เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้ใช้หินเกล็ดได้
3. กรรมวิธีก่อ
3.1 ที่มุมผนังอิฐก่อ หรือผนังอิฐก่อที่อยู่ลอย ๆ โดยไม่ติดเสา ค.ส.ล. หรือตรงที่ผนังอิฐก่อติดกับวงกบประตู - หน้าต่าง จะต้องมีเสาเอ็นและคานทับหลัง เสาเอ็น และคานทับหลังต้องไม่เล็กกว่า 10 ซม.และมีความกว้างเท่ากับแผ่นอิฐ การเสริมเหล็กเสริมด้วยเหล็ก 2 - Dia. 1/4" และมีเหล็กปลอกลูกโซ่ Dia. 1/4" ทุกระยะ 20 ซม. เหล็กเสริมเสาเอ็นจะต้องฝังลึกลงในพื้นหรือคาน ค.ส.ล. ทั้งสองด้าน หรือต่อเชื่อมกับเหล็กที่เสียบเตรียมเอาไว้
ในที่ไม่ได้ระบุไว้ในแบบ ผนังอิฐก่อทุก ๆ ความยาว 3 เมตร จะต้องมีเสาเอ็น และทุก ๆ ความสูง 2.50 เมตร จะต้องมีคานทับหลัง ระยะความยาวของคานทับหลังจะต้องไม่ยาวกว่า 3 เมตร ในแต่ละช่วง
3.2 ผู้รับจ้างจะต้องทำช่วงเตรียมไว้ในขณะก่อสร้างงานผนังก่ออิฐสำหรับงานระบบอื่น ๆ เช่น งานระบบไฟฟ้า งานระบบปรับอากาศ ฯลฯ หรือตามที่ผู้ควบคุมงานสั่ง การเจาะช่องต้องทำด้วยความประณีต
3.3 ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเสียบเหล็กสำหรับงานอิฐก่อหากไม่แน่ใจตำแหน่งจะต้องปรึกษาผู้ควบคุมงานเสียก่อน ระยะตามดิ่งไม่เกิน 30 ซม. ปลายใน ค.ส.ล. จะต้องงอขอให้เรียบร้อยส่วนที่ยื่นออกโครงสร้างต้องไม่น้อยกว่า 30 ซม. หากผู้รับจ้างจะต้องสกัดเสาหรือส่วนของโครงสร้างนั้น ๆ ให้เห็นเหล็กเสริม แล้วเชื่อมเหล็กเสริมกับเหล็กเสาเอ็นที่เตรียมเอาไว้ โดยจะต้องเทเสาเอ็นเชื่อมรอยต่อนั้น ๆ แล้วค่อยเสียบเหล็กเสียใหม่
3.4 การก่อ จะต้องได้แนวและระดับการก่อในครั้งเดียวจะต้องมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร โดยจะต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง จึงก่อเสริมได้การก่อผนังอิฐชนคาน ผู้รับจ้างจะต้องก่ออิฐทิ้งระยะไม่น้อยกว่า 15 ซม. ตลอดแนวคานทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงทำการก่อพอกชนคานได้ กรณีที่ก่ออิฐพอกนี้ตามนอน ไม่ได้อนุญาตให้ก่อตามเฉียงได้ระยะของปูนก่อจะต้องไม่น้อยกว่า 1 ซม. ปูนก่อจะต้องเต็มหน้าแผ่นอิฐ
3.5 การก่อผนังอิฐโชว์แนว
ผู้รับจ้างจะต้องคัดแผ่นอิฐที่ได้มาตรฐานทุก ๆ แผ่น การก่อจะต้องได้ระดับทั้งแนวนอนและดิ่ง การก่อในแต่ละชั้นจะต้องขึงเชือกหัวท้าย กรรมวิธีก่อให้ปฏิบัติตามข้อ 3.4 ก่อนที่ปูนก่อจะแห้งสนิทจะต้องเซาะรอยตามแนวปูนก่อให้เป็นร่องลึกประมาณ 1 ซม. อิฐทุกแผ่นต้องชำระสิ่งสกปรกจากคราบปูนหรือวัสดุอื่น ๆ ก่อนที่คราบสกปรกนั้นจะแห้งจนยากแก่การทำความสะอาด การยาแนวร่องผนังอิฐโชว์แนวใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายละเอียด หลังจากผนังอิฐก่อโชว์แนวแห้งสนิทแล้วผู้รับจ้างจะต้องกระทำจากส่วนบนลงมาข้างล่าง หากไม่ระบุไว้ในแบบให้เซาะร่องด้วยรูปตัว U การเจาะร่องต้องกระทำไป พร้อมการทำความสะอาดผนัง
4. การก่ออิฐบล็อค (คอนกรีตบล็อค)
กรรมวิธีก่อให้ยึดตามข้อ 3 ในกรณีที่ก่อคอนกรีตบล็อคแนวตามดิ่งตรงกันทุก ๆ 5 ก้อน จะต้องเสียบเหล็ก Dia. 9 มม. อย่างน้อย 2 เส้น ตลอดความสูงผนังหรือตามที่ผู้ควบคุมงานสั่ง ช่องที่เสียบเหล็กจะต้องเทคอนกรีตให้เต็มช่อง เศษหัวท้ายจะต้องใช้คอนกรีตบล็อค ตัดแต่งให้ได้ขนาดที่เหมาะสม การตัดแต่งจะต้องกระทำด้วยความประณีต โดยใช้ FIBER ตัด
5. การรักษาความสะอาด
เศษปูน เศษอิฐ ทุกชั้นจะต้องเก็บให้เรียบร้อยก่อนที่เศษปูนจะแห้งกรัง ผู้รับจ้างจะต้องรักษาผนังให้สะอาดปราศจากรอยขีดเขียนต่าง ๆ จนกว่าจะรับมอบงาน
ข. งานฉาบปูน
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงาน และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการก่อสร้างงานฉาบปูนให้ถูกต้องตามระบุในแบบและรายการ
งานฉาบปูน หากไม่ระบุในแบบ ส่วนที่เป็นผนัง คาน เสา และเพดาน ค.ส.ล. และทุกส่วนที่มองเห็นด้วยตาจากภายนอก ให้ตกแต่งผิวด้วยปูนฉาบ
2. วัสดุ
2.1 ปูนซีเมนต์ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ตรา….....….ของบริษัท ………..………. จำกัด หรือ ตรา…………..ของบริษัท …………………. จำกัด หรือ ตรา…………... ของ บริษัท …………………. จำกัด
2.2 ทราย จะต้องเป็นทรายน้ำจืดที่สะอาด คมและแข็ง ปราศจากวัสดุอื่นเจือปน โดยมีคุณสมบัติดังนี้
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 4----------------------------------100%
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 16----------------------------------60-90%
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 50----------------------------------10-30%
ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 100----------------------------------0-10%
2.3 ปูนขาวหรือน้ำยาผสมปูนฉาบให้ใช้ปูนขาวหรือน้ำยาผสมปูนฉาบตามคำแนะนำของผู้ควบคุมงาน
น้ำยาผสมปูนฉาบเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ …………………...…...…… ของ …………...…….
3. กรรมวิธีฉาบ
ก่อนทำการฉาบปูนตกแต่ง ผู้รับจ้างจะต้องจับเฟี้ยมติดปุ่มให้ทั่วบริเวณพื้นที่ที่จะฉาบ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ จึงลงมือฉาบปูนตกแต่งได้การฉาบปูนให้แบ่งกรรมวิธีฉาบเป็น 2 ช่วง คือ ฉาบรองพื้นโดยใช้ปูน ทิ้งให้ปูนฉาบรองพื้นเริ่ม SET ตัว จึงลงมือฉาบตกแต่งได้
สำหรับผิวปูนฉาบธรรมดาให้ตกแต่งผิวด้วยฟองน้ำ แล้วใช้ไม้กวาดดอกหญ้าแต่งผิวอีกครั้ง สำหรับผิวซีเมนต์ขัดมันจะต้องขูดให้ขรุขระหลังจากแต่งผิวแล้วเตรียม สำหรับฉาบขัดมัน หรือจะฉาบขัดมันพร้อมกันเลย ขณะผิวปูนฉาบยังไม่แห้งก็ได้ สำหรับผิวบุผนังกระเบื้องหรือผนังบุผิวด้วยสีพ่นเม็ดทราย หรือสีพ่นระเบิดเมื่อฉาบได้ระดับแล้วไม่ต้องแต่งผิวชั้นละเอียด
ผิวของปูนฉาบจะต้องหนาไม่น้อยกว่า 1.5 ซม.
สำหรับผิวปูนฉาบที่จำเป็นต้องฉาบปูนหนากว่า 4 ซม. จะต้องแบ่งฉาบปูนทรายรองพื้นเป็นสองครั้ง ครั้งแรกเริ่ม SET ตัว จะต้องกรุด้วยลวดกรงไก่แล้วฉาบรองพื้นครั้งที่สอง การฉาบตกแต่งให้ถือตามกรรมวิธีข้างต้นการฉาบปูนส่วนที่ผนังติดกับโครงสร้าง ค.ส.ล. ให้ป้องกันการแตกร้าว โดยใช้แผ่นลวดกรงไก่ ขนาด 3/4" กว้างประมาณ 30 ซม. ยึดยาวตลอดรอยต่อ แล้วจึงฉาบรองพื้นได้
4. ส่วนผสมของปูนฉาบ
ปูนฉาบ ให้ใช้ส่วนผสมดังนี้
ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน
ทราย 3 ส่วน
ปูนขาวหรือไม่น้ำยาผสมปูนฉาบ ตามคำแนะนำของผู้ควบคุมงาน
5. การเตรียมพื้นผิว
สำหรับผนังอิฐก่อจะต้องทำความสะอาดสิ่งสกปรก และคราบน้ำมันให้หมดเสียก่อนรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณสำหรับผิว ค.ส.ล. ก่อนฉาบปูนจะต้องทำผิวสลัดปูนเสียก่อน ทิ้งให้ปูนสลัดยึดเกาะกับผนังก่อนฉาบต้องรดน้ำ ให้ทั่วบริเวณจึงฉาบปูนทับผิวได้
6. การทำความสะอาดและบำรุงรักษา
หลังจากฉาบปูนตกแต่งแล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ผู้รับจ้างต้องบ่มผิวปูนฉาบติดต่อกันอย่างน้อย 3 วันโดยฉีดน้ำให้ทั่ว หรือคลุมด้วยกระสอบปานรอยสกปรกที่เกิดจากเศษปูนต้องทิ้งให้ผิวฉาบแห้งสนิทก่อน จึงขูดออกได้
7. การซ่อมแซม
ผิวปูนฉาบจะต้องแน่นตลอดผิว ที่ใดมีเสียงเคาะดังโปร่งหรือมีรอยแตกร้าว จะต้องทำการซ่อมแซมโดยสกัดออกเป็นบริเวณรอบรอยร้าว หรือบริเวณนั้นโปร่งไม่น้อยกว่า 10 ซ.ม. ทำความสะอาดรดน้ำพอประมาณแล้ว จึงฉาบซ่อมแซม โดยผสมน้ำยาประเภท BONDING AGENT ผิวของปูนฉาบใหม่กับปูนฉาบเก่า จะต้องเป็นเนื้อเดียวกันในกรณีที่มีการซ่อมแซมงานคอนกรีตเกี่ยวกับโครงสร้างโดยวิธีฉาบ ผู้รับจ้างจะต้องทำการซ่อมแซมส่วนนั้นตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้กำหนดกรรมวิธีตลอดจนการเลือกใช้วัสดุผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทั้งหมด
งานหลังคา
1. ขอบเขตของงาน
'ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงาน และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการก่อสร้างงานหลังคา ตามที่ระบุในแบบรายการก่อสร้าง
2. การใช้วัสดุตามประเภทหลังคา
2.1 หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก (ROOF SLAB)
2.1.1 วัสดุคอนกรีตต้องผสมน้ำยากันการรั่วซึมคอนกรีตต้องเป็นมวลแน่น
2.1.2 หลังคาส่วนที่ไม่ใช้งานได้แก่ หลังคาห้องเครื่องลิฟท์บันได
ให้ทำระบบป้องกันการรั่วซึมด้วยแผ่นปูกันรั่วซึม ……………………... หรือวัสดุประเภทเดียวกันที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้ทาทับผิวแผ่นปูกันการรั่วซึมด้วยสี ……………………….. (หรือวัสดุสีประเภทคุณภาพเทียบเท่า) สี…
2.1.3 หลังคาดาดฟ้าส่วนที่ใช้งาน
ให้ทำระบบป้องกันการรั่วซึมด้วยแผ่นปูป้องกันการรั่วซึม ………….. หรือ ..…………
หรือวัสดุคุณสมบัติเทียบเท่าอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเททับด้วยปูนทรายหรือคอนกรีตผสมหินแกรนิตเล็กผสมน้ำยากันซึม โดยต้องเสริม WIRE MESH เป็นชั้น TOPPING เพื่อป้องกันการรั่วซึม เสียหาย เนื่องจากการใช้งานและถูกทำลายจากแสงแดด การเท TOPPINGเทหนาต่ำสุด 3 ซม. สูงสุด 5 ซม. และทุกระยะประมาณ 3.00 x 3.00 ม. หรือใกล้เคียงตามความเหมาะสม ซึ่งวิศวกรผู้ควบคุมงานจะเป็นผู้กำหนดให้ตัดร่องทำ EXPANSION JOINT, JOINT FIELER ใช้ ………………………….. หรือเทียบเท่า
2.2 หลังคาส่วนที่มุงด้วยโลหะ
2.2.1 โครงสร้างหลังคาส่วนที่เป็นโครงโลหะได้ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง
2.2.2 วัสดุมุงหลังคาส่วนที่เป็นหลังคา……………...………..ใช้ยี่ห้อ …………………
การติดตั้งให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานการติดตั้งของผู้ผลิต
3. การติดตั้ง
3.1 การติดตั้งวัสดุระบบป้องกันน้ำรั่วซึมที่หลังคาดาดฟ้า WATER PROOFING MEMBRANE ต้องเป็นไปตามกรรมวิธีของผู้ผลิต
3.2 การติดตั้งหลังคา…………………………………….. ต้องเป็นไปตามรูปแบบและกรรมวิธีของผู้ผลิต
4. การทำความสะอาด
เมื่องานก่อสร้างวัสดุมุงหลังคาแล้วเสร็จต้องตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง หากมีการชำรุดเสียหาย ซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานจะต้องเปลี่ยนใหม่แก้ไขจนถูกต้องตามกรรมวิธีของผู้ผลิต และต้องทำความสะอาดปราศจากฝุ่นผงเศษวัสดุต่าง ๆ บนหลังคา และท่อรางระบายน้ำ
งานป้องกันความชื้น
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงาน อุปกรณ์ที่จำเป็นในการก่อสร้างงานป้องกันความชื้นของหลังคา ถังเก็บน้ำใต้ดิน ตามระบุในแบบและรายการก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งใบรับรองผลการทดสอบคุณภาพวัสดุจากหน่วยงานที่ได้กำห4นดไว้ พร้อมกับหลักฐานอื่นเพื่อขออนุมัติ
2. วัสดุ
2.1 น้ำยาผสมในคอนกรีตกันซึม
ในส่วนของโครงสร้างที่ระบุในแบบ หรือตามคำสั่งของผู้ควบคุมงาน การผสมคอนกรีตจะต้องผสมน้ำยากันซึม ในอัตราส่วนที่ผู้ควบคุมงานเป็นผู้เห็นชอบ
น้ำยากันซึมมีคุณภาพเทียบเท่ายี่ห้อ …………………….. ของ ………………………. หรือ …………..ของ………………………. หรือเทียบเท่า
2.2 วัสดุกันซึมตามรอยต่อ SILICONE
SILICONE ชนิดตามคำสั่งของผู้ควบคุมงาน เทียบเท่า ……………หรือ …………………….. หรือเทียบเท่า
2.3 วัสดุฉาบผิวกันซึม
สำหรับห้องน้ำ, ผนังถังเก็บน้ำ ค.ส.ล. , ระเบียง ก่อนฉาบปูนหรือเทปูนทราย ให้ฉาบผิวด้วย ……………………………….. ของ ………………….. หรือคุณภาพเทียบเท่า กรรมวิธีให้ถือปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตและผู้ควบคุมงาน
2.4 แผ่นวัสดุปูผิวกันซึม
สำหรับหลังคาห้องเครื่องลิฟต์ ตลอดพื้นดาดฟ้าทั้งหมดให้ทำระบบป้องกันการรั่วซึมด้วยแผ่นปูนกันรั่วซึม …………………..หรือ ……………………. หรือ ……..………….. เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จให้ทาทับผิวแผ่นปูกันรั่วซึมด้วยสี COLOR COTE สี……. (ในกรณีที่พื้นดาดฟ้าระบุการใช้งานให้ดูรายละเอียดการก่อสร้างตามหมวดงานก่อสร้างหลังคา)
2.5 น้ำมันเคลือบแข็ง ยูริเทน
ใช้สำหรับ วงกบ-ประตูหน้าต่างไม้ ในส่วนที่ระบุให้ใช้น้ำมันเคลือบแข็งยูริเทน ให้ใช้ของ ………. หรือ ……………….. หรือเทียบเท่าตามกรรมวิธีของบริษัทผู้ผลิต
3. การก่อสร้าง
3.1 คอนกรีตที่ต้องผสมน้ำยากันซึม ให้ผสมน้ำยากันซึมภายใต้การควบคุมของวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน
3.2 รอยต่อของคอนกรีตที่ต้องใส่ ……. PVC. WATERSTOP ให้ติดตั้งภายใต้การควบคุมของวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน
3.3 การทำระบบกันซึม ภายใต้การควบคุมของวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน
3.4 การอุดรอยต่อต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมงาน
3.5 วัสดุฉาบผิว การเตรียมผิวให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต และภายใต้การควบคุมของวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน
4. ส่วนที่ต้องทำระบบกันซึม
ให้ใช้วัสดุตามข้อ 2.1 ถึง 2.4 ตามลักษณะของการใช้งาน
ในกรณีที่ไม่ได้ระบุในแบบ ผู้รับจ้างจะต้องทำระบบกันซึมในส่วน
4.1 พื้นคอนกรีตที่ติดกับผิวดิน
4.2 ห้องน้ำ
4.3 หลังคา, ส่วนที่เป็น SLAB
4.4 ระเบียง, กันสาด
4.5 พื้นดาดฟ้าและรางน้ำ ค.ส.ล.
งานประตู / หน้าต่างและกระจก
ก. ประตูไม้
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงาน และอุปกรณ์ สำหรับการติดตั้งประตูไม้ให้ถูกต้อง ตามระบุในแบบ และรายการก่อสร้าง
2. วัสดุ
2.1 วงกบประตูภายในทั้งหมดให้ใช้วงกบไม้……………...…... นอกจากระบุไว้เป็นพิเศษในแบบ
2.2 บานประตูไม้อัด……สำเร็จรูปให้ใช้ชนิด ………...………. ทั้งหมด ประตูทุกบานต้องมีความหนา ……. มม. มาจากโรงงานให้เรียบร้อย การบากและการเข้าไม้จะต้องแน่นและสนิท และมีขนาดตามระบุในแบบให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท …………………... จำกัด หรือเทียบเท่า
3. การสั่งการเก็บและการรักษาวัสดุ
วัสดุจะต้องส่งมายังสถานที่ก่อสร้างในสภาพแห้ง และต้องเก็บให้คงสภาพแห้งอยู่เสมอ ของทั้งหมดขนย้ายด้วยความระมัดระวังทั้งระหว่างการขนส่ง และทั้งในสถานที่ก่อสร้าง จะต้องเก็บไว้ในลักษณะที่ของนั้นจะไม่ฉีกแตกหักเสียหายได้ไม่ว่าประการใด ๆ
วางประตูในทางตั้ง และเก็บชิ้นส่วนที่เป็นไม้ไว้ในที่แห้ง มีสิ่งปกคลุมภายหลังการติดตั้ง ยังต้องป้องกันความเสียหายในระหว่างการก่อสร้างด้วยผู้ว่าจ้าง และผู้ควบคุมงานจะไม่ยอมรับงานที่เสียหาย ทั้งผู้รับจ้างจะต้องทำทดแทนใหม่ให้เรียบร้อย
4. การติดตั้ง
4.1 การติดตั้งวงกบไม้
ไม้วงกบที่นำมาในหน่วยงาน จะต้องทาด้วยแชลตขาว 1 เที่ยว สำหรับวงกบที่ต้องทาผิวแลคเกอร์หรือวานิช, น้ำมันเคลือบแข็ง, หรือวงกบที่ต้องทาผิวน้ำมันเคลือบแข็งวงกบสำหรับบานประตูหรือหน้าต่าง ให้ทำการติดตั้งก่อนการก่ออิฐผนัง โดยจะต้องตรวจสอบรูปทรงของวงกบให้ได้แนวดิ่งและระดับเสียก่อน แล้วจึงเทเสาเอ็นรัดรอบวงกบนั้น
4.2 ประตูไม้และอุปกรณ์
4.2.1 ก่อนการติดตั้งผู้รับจ้างจะต้องตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องของวงกบประตูเสียก่อน ถ้าเกิดความผิดพลาด เนื่องจากการคดโก่งของวงกบหรือการชำรุดอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ประตูภายหลัง ผู้รับจ้างต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบ และ/หรือ รายงานต่อผู้ควบคุมงานทันที เพื่อการแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อย แล้วจึงทำการติดตั้งประตูต่อไปได้
4.2.2 การติดตั้งบาน อาจต้องมีการตัดแต่งบ้างเล็กน้อย เพื่อให้พอดีกับวงกบประตู และสะดวกในการปิดเปิด และสอดคล้องกัน การทำงานของช่างสี ผู้รับจ้างจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยถือระยะเหล่านี้เป็นพื้นฐาน คือ
ด้านบนควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2 มม.
ด้านข้างควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2 มม.
ด้านล่างควรจะห่างจากวงกบประมาณ 5 มม.
4.2.3 การติดตั้งอุปกรณ์ เช่น กุญแจ ลูกบิด ขอรับ ขอสับ ฯลฯ ผู้รับจ้างจะต้องใช้ TEMPLATEกำหนดที่ที่จะเจาะประตูก่อน แล้วจึงทำการเจาะ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดขึ้นได้ หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้ทดสอบการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ให้ถอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกให้หมด (ยกเว้นบานพับ) แล้วนำเก็บลงในกล่องบรรจุเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ช่างทาสีทำงานได้โดยสะดวก และเมื่อสีที่ทาประตู หรือวงกบแห้งสนิทแล้ว จึงทำการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นใหม่และทดสอบจนใช้การได้ดีดังเดิม อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กุญแจ ลูกบิด บานพับถ้าปรากฏเป็นรอยอัน เนื่องมาจากการติดตั้ง หรือจากการขนส่งอื่น ๆ ผู้รับจ้างจะต้องเปลี่ยนให้ใหม่ทันที
5. การทาสี
บานประตูไม้อัด…..……. และไม้ปิดเหนือช่องประตู ให้ทาด้วยสี ………………….. หรือระบุเป็นอย่างอื่นในแบบบานประตูไม้อัด………., ..……/…..…. และบานประตูไม้จริง ให้ทาเครมเกรสหรือยูริเทนของ ……………...หรือระบุเป็นอย่างอื่นในแบบ การทาสีให้ปฏิบัติตามรายการหมวดทาสี
ข. อุปกรณ์ประตูหน้าต่างไม้
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงาน และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งอุปกรณ์ประตูหน้าต่างไม้ ตามระบุในแบบรูปและรายการ ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งตัวอย่างให้ผู้ควบคุมงานตรวจสอบการติดตั้ง
2. วัสดุ
2.1 บานพับ
บานพับประตู ให้ใช้บานพับยี่ห้อ ……..., …... หรือเทียบเท่า ติดบานละ ….. ชุด นอกจากระบุไว้เป็นอย่างอื่นในแบบ ขนาดและชนิดมีดังนี้
- บานพับ…………... ชนิดมีแหวน……….. ขนาด …..." x …..."
- บานพับ…………... ชนิดมีแหวน……….. ขนาด …..." x …..."
- บานพับ…………... ชนิดมีแหวน……….. ขนาด …..." x …..."
2.2 มือจับ
ให้ใช้มือจับ …………………………. หรือระบุเป็นอย่างอื่นในแบบรูป
2.3 กลอน
ให้ใช้กลอน ……………………………. หรือระบุเป็นอย่างอื่นในแบบ
2.4 กุญแจลูกบิด
ให้ใช้กุญแจลูกบิด ผลิตภัณฑ์ ของ ……………………….., ……………………….. หรือเทียบเท่า
2.5 DOOR CLOSER
นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น ให้ติดตั้ง DOOR CLOSER ที่ตอนบนสุดของบานประตู ผลิตภัณฑ์ของ ……………………….. หรือเทียบเท่า
ค. บานประตูเหล็กกันไฟ
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงานและอุปกรณ์ สำหรับการติดตั้งประตูเหล็กให้ถูกต้องตามระบุในแบบรูป และรายการก่อสร้าง
2. วัสดุ
2.1 วงกบประตู ให้ใช้แผ่นเหล็กอาบสังกะสีเบอร์ ……..……….. พับขึ้นรูปเป็นวงกบขนาด .…." x .…."
ภายในบรรจุฉนวน …..………... ภายนอกและภายในให้เคลือบด้วยสีกันสนิม ……………………...เฉพาะภายนอกให้เคลือบทับหน้าด้วยสีน้ำมัน
2.2 บานประตู ให้ใช้แผ่นเหล็กอาบสังกะสีเบอร์ ……..………….. เชื่อมติดกับโครงแผ่นเหล็ก พับขึ้นรูปความหนาตัวบานรวม .….." ภายในกรุด้วย………... ภายนอกและภายในให้เคลือบด้วยสีกันสนิม…..………. เฉพาะภายนอกให้เคลือบทับหน้าด้วยสีน้ำมัน
2.3 บานพับเป็น ………………………. ชนิด ………………. ขนาด …." x …." จำนวน ……. ชุด/บาน
2.4 อุปกรณ์ประกอบบาน อาทิ เช่น PANIC LATCHES ให้ใช้ของ ………………….. Model ……………...หรือเทียบเท่า DOOR CLOSER ให้ใช้ของ …………………………. ชนิด …………………….
3. การติดตั้ง
ให้ติดตั้งตามกรรมวิธีของบริษัทผู้ผลิต
ง. บานประตูเหล็ก
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ แรงงานและอุปกรณ์ สำหรับการติดตั้งประตูเหล็กให้ถูกต้องตามระบุในแบบรูปและรายการก่อสร้าง
2. วัสดุ
2.1 วงกบประตูเหล็ก ให้ใช้แผ่น ……………………….. พับโดยกรรมวิธีของบริษัทฯ ผู้ผลิตแผ่นเหล็กหนา …… มม. ขนาด ……... x …………. ม. วงกบเป็นชนิด………………………
2.2 บานประตู ………………………… ผิว ………………. ให้ใช้เหล็กแผ่นหนา …. มม. เรียบสองหน้าตัวบานหนา …. มม. ภายในเสริมด้วยโครงสร้างเหล็กยึดในแนวตั้งระยะห่าง .....-…. ซม. และจะต้องเสริมด้วยแผ่นหนา ……... มม. สำหรับส่วนที่ติดตั้ง DOOR CLOSER
2.3 บานพับเป็นชนิด ปรู๊ทบานพับ ……………….. ชนิด………………..
2.4 อุปกรณ์ประกอบบาน อาทิ เช่น กุญแจลูกบิดให้ใช้ชนิด ……………………… ของ หรือ ………………………... หรือเทียบเท่า………………..
3. การติดตั้ง
ให้ติดตั้งตามกรรมวิธีของบริษัทผู้ผลิต
จ. กระจกและการติดตั้ง
1. ขอบเขตของงาน
งานในส่วนนี้ได้แก่ การจัดซื้อ การขนส่ง และการติดตั้งกระจก และอุปกรณ์ประกอบทั้งหมดตามที่ระบุในแบบก่อสร้างและรายการ
2. ทั่วไป
2.1 ผู้รับจ้าง
ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิตกระจก และวัสดุตัดกระจกในการติดตั้งอย่างเคร่งครัด
2.2 แบบจากบริษัทผู้ผลิต
ผู้รับจ้างต้องจัดหาแบบรายละเอียดในการติดตั้ง ซึ่งแสดงขอบยึดกระจก วัสดุอุดและรายละเอียดอื่น ๆซึ่งบริษัทผู้ผลิตได้ทำไว้เป็นจำนวน ……... ชุดมาเสนอแก่ผู้ควบคุมงาน เพื่อพิจารณาก่อนการติดตั้ง
2.3 ตัวอย่าง
ผู้รับจ้างต้องจัดหาตัวอย่างกระจก และวัสดุในการติดตั้งมาเสนอแก่ผู้ควบคุมงาน เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนการติดตั้งในการตรวจรับมอบงาน ผู้ควบคุมจะยอมรับรองเฉพาะวัสดุที่มีมาตรฐานเท่ากับตัวอย่างที่ได้นำเสนอไว้แล้วเท่านั้น
3. วัสดุ
ให้ใช้กระจกที่ผลิตตามกรรมวิธีการผลิตแบบ ………………… นอกจากจะระบุเป็นอย่างอื่น กระจกทั้งหมดที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี ผิวเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ปราศจากริ้วรอยขีดข่วนไม่หลอกตาหรือฝ้ามัว กระจกที่ใช้อาจเป็นกระจกใส กระจกตัดแสงหรืออื่น ๆ ตามที่ระบุในแบบก่อสร้างจะต้องมีการตกแต่งลบมุมให้เรียบร้อยสวยงาม มีขนาดและความหนาตามต้องการในกรณีที่ระบุให้ใช้กระจกขนาดใหญ่ โดยผลิตจากต่างประเทศหรือในประเทศ จะต้องเป็นกระจกผลิตตามกรรมวิธี
3.1 ความหนาของกระจก
หากไม่ได้กำหนดในแบบก่อสร้างให้ใช้ความหนาของกระจก โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ควบคุมงานแล้ว ดังนี้
- สำหรับลูกฟักบานหน้าต่างโดยทั่วไป มม.
- สำหรับลูกฟักบานประตู มม.
- สำหรับกระจกติดตาย มม.
- สำหรับกระจกติดตายที่มีขนาดใหญ่กว่า 20 ตร.ฟ. มม.
- สำหรับกระจกบานเกล็ด มม.
- สำหรับกระจกบานเปลือย (TEMPERED GLASS) มม.
3.2 กระจกใส
ให้ใช้กระจกใสที่มีความหนาตามี่ระบุไว้ในรูปแบบหรือรายการก่อสร้าง มีผิวเรียบสม่ำเสมอสีใสไม่เป็นฟองอากาศหรือคลื่นไม่แตกร้าวหรือเป็นรอยขูดขีดเปรอะเปื้อนชนิดของกระจก ผู้ควบคุมงานจะกำหนดให้จากตัวอย่างของกระจกที่ผู้รับจ้างจัดหามา
3.3 กระจกฝ้า
ในกรณีที่ระบุให้ใช้กระจกฝ้า ให้ใช้กระจกฝ้าของบริษัท ………………..…… จำกัด หรือเทียบเท่าขนาด และความหนาตามที่ระบุในรูปแบบ
3.4 กระจกเงา
กระจกเงาทั้งหมดให้ใช้ชนิดเคลือบปรอทด้วยไฟฟ้า ความหนาของกระจกไม่น้อยกว่า ………. " หรือตามที่ระบุในรูปแบบและรายการ ต้องตัดและเจียรไนขอบเรียบร้อยมาจากโรงงานกระจกที่จะมาฉาบปรอทต้องเป็นกระจกที่ผลิตโดยกรรมวิธี FLOAT GLASS
4. การดำเนินการและฝีมือ
4.1 ช่องเว้นสำหรับการติดตั้ง
ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต
4.2 ขอบกระจก
ทั้งหมดต้องขัดเรียบ จะมีส่วนแหลมคมอยู่ไม่ได้ เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดแรงกดรวมกันที่ขอบส่วนนั้นทำให้กระจกแตกในที่สุด
4.3 การเตรียมร่องใส่กระจก
ร่องกระจกจะต้องแห่งสะอาดปราศจากสิ่งสกปรก ผงเศษวัสดุที่หลุดออก กาว สนิม น้ำมันหรือคราบ
4.4 กระจกที่ติดตั้งแล้ว
ห้ามทำให้เกิดการกระเทือน หรือโยกย้ายส่วนที่ติดกระจกแล้ว รวมทั้งห้ามเปิดบานประตูหน้าต่างที่เป็นบานเปิด จนกว่าวัสดุยึดกระจกจะแห้งดีแล้ว
4.5 งานกระจกที่ไม่สมบูรณ์
กระจกที่ติดตั้งแล้ว หากมีรอยแตกร้าวหรือมีรอยขูดขีดผู้รับจ้างจะต้องจัดการเปลี่ยนให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า ผู้รับจ้างต้องทำความสะอาด และปิดกระจกให้เรียบร้อยทั้งสองด้านทุกบาน ก่อนส่งมอบงาน
งานเครื่องสุขภัณฑ์
1. ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องสั่งซื้อ นำวัสดุเข้ามายังหน่วยงานเพื่อทำการติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ห้องน้ำ และงานอื่น ๆที่เกี่ยวกับเครื่องสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ทั้งหมดงานฝีมือ ก่อนการติดตั้งผู้รับจ้างจะต้องตรวจสอบขนาด ตำแหน่งระดับในงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนงานโครงสร้าง จนถึงขั้นติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบต่อผลเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น หากมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทำให้งานติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์เป็นไป โดยไม่เรียบร้อย หากมีปัญหา หรือคาดว่าจะมีปัญหา ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบทันที ห้ามกระทำไปโดยพลการ
2. วัสดุ
2.1 สุขภัณฑ์
ให้ใช้ชนิดเคลือบสีตามที่ระบุในแบบ
3. กระจกเงา
ตามระบุในรูปแบบ การฉาบปรอทหลังกระจกต้องผ่านกรรมวิธีทางไฟฟ้า ดูหัวข้อกระจกเงาหมวดงานกระจกและการติดตั้ง
4. การติดตั้ง
กรณีที่ไม่ได้ระบุในรูปแบบ ผู้รับจ้างจะต้องปฎิบัติ ดังนี้
4.1 ที่ใส่กระดาษชำระ 1 อัน ทุก ๆ โถส้วม 1 ที่
4.2 ที่ใส่สบู่ 1 อัน ทุก ๆ ฝักบัว 1 ชุด
4.3 ฝักบัวชำระ 1 อัน ทุก ๆ โถส้วม 1 ที่
4.4 กระจกเงาเหนืออ่างล้างหน้าทุก ๆ ห้อง
5. การทำความสะอาดและการป้องกัน
หลังจากการติดตั้งงานสุขภัณฑ์และอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อย วัสดุทุกชิ้นจะต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยพร้อมทั้งป้องกันให้อยู่ในสภาพดีตลอด จนกว่าจะส่งมอบงานหากมีส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหายหรือแตกร้าว ผู้รับจ้างจะต้องเปลี่ยนให้ใหม่ ให้ดีคงสภาพเดิม โดยไม่คิดมูลค่า
ตัวอย่างรายการประกอบแบบ
สารบัญแบบโครงสร้าง
สารบัญแบบสถาปัตยกรรม
สารบัญแบบระบบไฟฟ้า
สารบัญแบบสุขาภิบาล
สารบัญแบบดับเพลิง
วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)